เมนู

อรรถกถาสัทโท วิปาโกติกถา



ว่าด้วย เสียงเป็นวิบาก

1

ชื่อว่า เรื่องเสียงเป็นวิบาก. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด
ดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า เสียงเป็นวิบาก เพราะไม่
พิจารณาความถือเอาคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พระตถาคตนั้น
เป็นผู้มีเสียงดุจเสียงแห่งพรหม... เพราะทำกรรม อันได้ทำแล้ว ได้
สะสมไว้แล้ว ได้เพิ่มพูนแล้ว เป็นกรรมไพบูลย์
ดังนี้ คำถามของสกวาที
กล่าวเพื่อแสดงแก่ชนเหล่านั้นว่า อรูปธรรมทั้งหลาย คือนามขันธ์ 4 มี
กรรมเป็นสมุฏฐาน ย่อมได้ชื่อว่า วิบาก แต่โวหารนี้ไม่มีในรูปธรรม
ทั้งหลาย. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า เสียงเป็นผลที่บุคคล
เสวยเป็นสุข
เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่าขึ้นชื่อว่าวิบากแล้วย่อม
เป็นอย่างนี้.
พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พระตถาคตนั้นเป็นผู้
มีเสียงดุจเสียงแห่งพรหมเพราะกรรมนั้นได้ทำไว้แล้ว
เป็นต้น ที่ปรวาที
นำมากล่าวนั้นก็เพื่อจะแสดงให้ทราบถึงการได้ลักษณะ คือภาวะที่ดี
อันที่จริง พระมหาบุรุษแม้เป็นผู้มีบริวารที่ดีก็เพราะทำกรรมไว้ใน
กาลก่อน และทั้งบริวารนั้นก็ไม่ใช่วิบาก เพราะฉะนั้นพระสูตรนี้ จึงมิใช่
ข้อพิสูจน์ว่าเสียงเป็นวิบาก ดังนี้แล.
อรรถกถาสัทโทวิปาโกติกถา จบ

1. คำว่าวิปากะ ได้แก่วิปากจิต 36 เจตสิก 38 วิบากนี้เรียกว่าผลด้วย แต่คำว่าผลมี 2 คือ มุขยผล และ
สามัญญผล สำหรับสามัญญผล ได้แก่ กัมมชรูป คือรูปที่เกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐาน ไม่จัดเป็นวิบาก.